เมนู

ด้วยเหตุนี้ การกำหนดรูปธาตุจึงมี 10 ครึ่ง ( 10 1/2) กำหนดอรูปธาตุจึงมี
7 ครึ่ง (7 1/2) เพราะฉะนั้น การถือเอารูปธาตุแลอรูปธาตุ ชื่อว่า ท่านถือ
เอาแล้ว. บัณฑิตพึงแสดงขันธ์ 5 ที่เป็นรูปและอรูป (อย่างนี้คือ) ธรรมที่
เป็นรูปและอรูปนั้นเป็นทุกขสัจจะ ตัณหาในภพก่อนที่เป็นเหตุให้ทุกขสัจจะ
นั้นตั้งขึ้น เป็นสมุทยสัจจะ ความไม่เป็นไปแห่งทุกขสัจจะและสมุทยสัจจะ
ทั้ง 2 เป็นนิโรธสัจจะ มรรคอันเป็นเหตุรู้นิโรธสัจจะนั้น เป็นมรรคสัจจะ
กรรมฐานคือสัจจะ 4 นี้ ด้วยประการฉะนี้ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสธรรมเป็นเครื่องออกเพราะบรรลุธรรมอันสุงสุดจนถึงพระอรหัตของภิกษุผู้
มุ่งมั่นด้วยธาตุ 18.

นิเทศธาตุ 6 นัยที่สอง


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคจ้าเมื่อจะทรงแสดงธาตุ 6 นัยที่สอง จึงตรัส
ว่า อปราปิ ฉ ธาตุโย (ธาตุ 6 อีกนัยหนึ่ง) เป็นต้น.
ในพระบาลีนั้น คำว่า สุขธาตุ ทกฺขธาตุ (สุขธาตุ ทุกขธาตุ)
ได้แก่ สุขและทุกข์ที่อาศัยกายประสาทเกิด ทรงแสดงกระทำให้เป็นของคู่กัน
ด้วยอำนาจความเป็นปฏิปักษ์กัน จริงอยู่ สุขเป็นปฏิปักษ์ (เป็นธรรมตรงกัน
ข้าม) ต่อทุกข์ ทุกข์ก็เป็นปฏิปักษ์ต่อสุข. ฐาน (ที่) อันสุขแผ่ไปแล้วมีประมาณ
เท่าไร (ในกายนี้ ) ทุกข์ก็แผ่ไปมีประเท่านั้น. ฐานอันทุกข์แผ่ไปแล้วมี
ประมาณเท่าไร สุขก็แผ่ไปมีประมาณเท่านั้น.
คำว่า โสมนสฺสธาตุ โทมนสฺสธาตุ (โสมนัสสธาตุ โทมนัสส-
ธาตุ) แม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำให้เป็นคู่กัน เหมือนอย่างสุขและ

ทุกข์นั่นแหละ จริงอยู่ โสมนัสเป็นปฏิปักษ์ต่อโทมนัส. โทมนัสก็เป็นปฏิปักษ์
ต่อโสมนัส ฐานที่โสมนัสแผ่ไปในสรีระนี้มีประมาณเท่าไร โทมนัสก็แผ่ไปมี
ประมาณเท่านั้น ฐานที่โทมนัส แผ่ไปมีประมาณเท่าไร โสมนัสก็แผ่ไปมี
ประมาณเท่านั้น.
อนึ่ง คำว่า อเปกฺขาธาตุ อวิชฺชาธาตุ (อุเปกขาธาตุ อวิชชา-
ธาตุ) 2 บทนี้ ตรัสการทำให้คู่กันด้วยอำนาจเป็นธรรมคล้ายกัน. จริงอยู่
ธาตุทั้ง 2 นี้เป็นธาตุคล้ายกัน เพราะความเป็นธาตุไม่แจ่มแจ้ง.
บรรดาธาตุเหล่านั้น กายธาตุที่ประกอบกันสุขและทุกข์นั้น เป็นที่อาศัย
ให้กายวิญญาณเกิด และโผฉฐัพพธาตุที่เป็นอารมณ์ประกอบกับสุขและทุกข์นั้น
ย่อมเป็นอันถือเอาด้วยศัพท์ว่าสุขทุกขธาตุนั้นอง. มโนวิญญาณธาตุที่สัมปยุต-
โสมนัสและโทมนัสนั้น ย่อมเป็นอันนับถือเอาด้วยศัพท์ว่า โสมนัสและโทมนัสธาตุ
ธรรมธาตุถือเอาด้วยอวิชชาธาตุ. จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆาน-
วิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ และมโนธาตุ (3) และจักขุธาตุรูปธาตุเป็น
ต้นที่เป็นวัตถุ (เป็นที่อาศัยให้วิญญาณเกิด) แต่เป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ
ธาตุเป็นต้น เหล่านั้นนั่นแหละ เป็นอันถือเอาแล้วด้วยศัพท์ว่า อุเปกขาธาตุ
เพราะฉะนั้น ธาตุแม้ 18 อย่าง จึงเป็นอันถือเอาแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
บัดนี้ พึงทราบคำทั้งหมดมีอาทิว่า บรรดาธาตุ 18 เหล่านั้น ท่าน
กำหนดรูปธาตุไว้ 10 อย่าง โดยนัยที่กล่าวไว้ในหนหลังนั่นเอง และพึงทราบ
ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมเป็นเครื่องออกไปแก่ภิกษุรุปหนึ่งผู้บรรลุธรรม
อันสูงสุดจนถึงพระอรหัต ด้วยประการฉะนี้.

คำว่า ตตฺถ กตมา สุขธาตุ ยํ กายิกํ สาตํ (ในธาตุ 6 นั้น
สุขธาตุ เป็นไฉน ความสบายกาย ความสุขใจ) เป็นต้น มีนัยตามที่กล่าว
ไว้ในหนหลังนั่นแล.

นิเทศธาตุ 6 นัยที่สาม


พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศธาตุ 6 นัยที่สาม ต่อไป
คำว่า กาม ได้แก่ กาม 2 คือ วัตถุกาม และกิเลสกาม บรรดา
กามทั้ง 2 นั้น ธาตุที่ประกอบด้วยกาม หมายถึงกิเลสกาม ชื่อว่า กามธาตุ
กามธาตุนี้เป็นชื่อของกามวิตก (ความตรึกในกาม) ธาตุคือกามนั่นเอง หมาย
ถึงวัตถุกาม ชื่อว่า กามธาตุ คำนี้เป็นชื่อของกามาวจรธรรม. ธาตุที่ประกอบ
ด้วยพยาบาท ชื่อว่า พยาปาทธาตุ คำว่า พยาปาทธาตุนี้ เป็นชื่อของ
พยาปาทวิตก (ความตรึกในพยาบาท) ธาตุคือ พยาบาทนั้นเอง ชื่อว่า
พยาปาทธาตุ คำว่า พยาปาทธาตุนี้ เป็นชื่อของปฏิฆะมีอาฆาตวัตถุ 101
ประการ. ธาตุที่ประกอบด้วยวิหิงสา (ความเบียดเบียน) ชื่อว่า วิหิงสาธาตุ
คำว่า วิหิงสาธาตุนี้เป็นชื่อของวิหิงสาวิตก (ความตรึกในการเบียดเบียน)
ธาตุคือวิหิงสานั่นเอง ก็ชื่อว่า วิหิงสาธาตุ คำนี้เป็นชื่อของการเบียดเบียน
สัตว์อื่น.
1 อาฆาตวัตถุ 10 ประการ คือ 1. อาฆาตโดยคิดว่าเขาได้เคยทำความเสื่อมให้เรา 2. อาฆาต
โดยคิดว่าเขากำลังทำความเสื่อมให้เรา 3. อาฆาตโดยความคิดว่า เขาจะทำความเสื่อมให้เรา
4. อาฆาตโดยความคิดว่า เขาได้เคยทำความเสื่อมให้คนที่เรารัก 5. อาฆาตโดยคิดว่า เขา
กำลังทำความเสื่อมให้คนที่เรารัก 6. อาฆาตโดยคิดว่า เขาจะทำความเสื่อมให้คนที่เรารัก
7. อาฆาตโดยคิดว่า เขาเคยทำคุณประโยชน์แก่คนที่เราชัง 8. อาฆาตโดยคิดว่าเขากำลัง
ทำคุณประโยชน์แก่คนที่เราชัง 9. อาฆาตโดยคิดว่า เขาทำคุณประโยชน์แก่คนที่เราชัง
10. อาฆาตในฐานอันไม่ควร มีการเดินสะดุดเป็นต้น.